รักษ์สุขภาพ - ตอนที่ 20 โภชนศาสตร์สมัยใหม่ (11)

  1. เข้าใจผิดคิดว่า วิตามินสกัดเม็ด มีคุณสมบัติเหมือนวิตามินที่พบในอาหารธรรมชาติ แต่ความจริงแล้ว ประจักษ์หลักฐาน (Evidence) บ่งชี้ (Indicate) ว่า วิตามินและแร่ธาตุหลายตัว เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่จำเป็นต่อร่างร่างกาย แต่งานวิจัยเปรียบเทียบ (Comparative research) ให้ผู้ป่วยกินวิตามินเป็นเม็ด (Tablet) กับผู้ป่วยกินยาหลอก (Placebo) ปรากฏว่า ไม่มีผลต่อการป่วยเป็นโรคเรื้อรัง (Chronic) เช่น โรคหลอดเลือด (Vascular) หรือโรคมะเร็ง (Cancer) แต่อย่างใด แต่หลักฐานเชิงระบาดวิทยา (Epidemiological) บ่งชี้ชัดว่า หากได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย (Variety) จากการกินพืชเป็นอาหาร จะมีผลต่อการป้องกัน (Prevention) และการรักษา (Treatment) โรคเรื้อรังได้ อาจเป็นเพราะวิตามินในอาหารพืชธรรมชาติ (Organic) ออกฤทธิ์ (Effective) พร้อมกันในลักษณะกลุ่มของโมเลกุล ในขณะที่วิตามินสกัด (Extract) เป็นเม็ดนั้น ออกฤทธิ์เพียงโมเลกุลเดียว ทำให้ไม่สามารถทดแทน (Substitute) วิตามินในอาหารธรรมชาติได้ทั้งหมด
  2. เข้าใจผิดคิดว่า การกินวิตามินเสริมไม่มีโทษ แต่ความจริงแล้ว วิตามินและแร่ธาตุ (Mineral) ในลักษณะยาเม็ด (Tablet) ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) [Food and Drug Administration: FDA] มีความปลอดภัย (Safety) หากกินตามขนาดที่แนะนำว่าควรได้รับในแต่ละวัน (Recommended daily allowance: RDA) แต่ในปัจจุบัน มีการชักจูง (Convince) ให้กินหรือรับการฉีด (Injection) วิตามินเกินขนาด (Doze) กว่า RDA ไปมาก ซึ่งนำไปสู่การเกิดพิษ (Toxicity) ของวิตามินในร่างกาย จึงไม่ควรกินเกินขนาด RDA และไม่ควรฉีดวิตามินเอง เพราะมีความเสี่ยง (Risk) ควรใช้โดยแพทย์เพื่อการรักษาโรคขาดวิตามินบางชนิดระดับรุนแรง (Severe) เท่านั้น
  3. เข้าใจผิดสุดโต่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 แบบ
    • เข้าใจว่า การมีสุขภาพดี ต้องกินวิตามินและเกลือแร่ให้ครบถ้วนทุกวัน – มีงานวิจัยสุขภที่มหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งใช้แพทย์ 15,000 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกกินวิตามินรวม ส่วนกลุ่มที่ 2 กินวิตามินหลอก (Placebo) ผลปรากฏว่า อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง แทบไม่ต่างกันเลย จึงสรุปได้ว่า คนที่มีสุขภาพปรกติ มีโภชนาการที่ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินรวมทุกวันเลย
    • เข้าใจว่า คนเราไม่จำเป็นต้องกินวิตามินเป็นเม็ดเลย ไม่ว่ากรณีใดๆ – มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) จากงานวิจัยขนาดเล็กกระจัดกระจาย (Scatter) จำนวนหนึ่ง ที่ระบุว่า มีหลายกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์ จากการกินวิตามินเป็นเม็ดเสริม หรือทดแทน ดังนี้
      • หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ (Pregnant)
      • คนที่โภชนาการไม่เพียงพอ (Insufficient), กินอาหารได้น้อยกว่าปรกติ, หรือเป็นโรคจิตประสาทชนิดกินแล้วอาเจียน (Vomiting psychosis)
      • ผู้ที่มีประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า เป็นโรคขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะ
      • ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง (Chronic) ที่หาสาเหตุไม่ไสด้ โดยเฉพาะมีอาการทางระบบประสาท (Nervous system) เช่น ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy)
    •  

แหล่งข้อมูล 

  1. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. และ พญ. ดร. พิจิกา วัชราภิชาต (2566). Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี: สุขภาพดีได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ฟรีมาย์ พับลิชชิ่ง จำกัด.